ประเพณีแห่เทียนพรรษา ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
(วันเข้าพรรษา)
ความสำคัญ
ความสำคัญ
วันเข้าพรรษา
ตามประเพณีทางศาสนาแต่เดิม ประชาชนนำเทียนที่หล่อและแกะสลักสวยงามถวายพระสงฆ์
เพื่อจุดบูชาระหว่างเข้าพรรษา ต่อมาจัดให้มีการประกวดต้นเทียนพรรษาโดยแบ่งเป็น ๓
ประเภทได้แก่ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ปี พ.ศ. ๒๕๒๐
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดเป็นงานประจำปีและงานระดับชาติ
โดยเพิ่มกิจกรรมและระยะเวลาการจัดงาน เช่น มีการสมโภชเทียนพรรษาพระราชทาน จัดงานพาแลง
แสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง และการประกวดธิดาเทียน
พิธีกรรม
พิธีกรรม
1. ชาวบ้านแต่ละคุ้มจัดวัสดุอุปกรณ์ในการหล่อเทียน
จัดทำต้นเทียนทั้งแกะสลักและติดพิมพ์
2. รวมเทียนที่ตกแต่งแล้ว ก่อนพิธีเปิดงานแห่เทียน ๑ วัน
3. จัดประกวดโดยแบ่งเป็นประเภท
4. ถวายต้นเทียนพรรษาแก่วัด และเก็บรักษาไว้จัดในปีต่อไป
สาระ
2. รวมเทียนที่ตกแต่งแล้ว ก่อนพิธีเปิดงานแห่เทียน ๑ วัน
3. จัดประกวดโดยแบ่งเป็นประเภท
4. ถวายต้นเทียนพรรษาแก่วัด และเก็บรักษาไว้จัดในปีต่อไป
สาระ
1. คุณค่าด้านทัศนศิลป์
ในการออกแบบต้นเทียนและส่วนประกอบ
2. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การถ่ายทอดวรรณกรรมออกมาในรูป กลอนลำ ผญา ประกอบท่าร่ายรำในขบวนแห่ และการประยุกต์ตำนานในพุทธประวัติมาสร้างเป็นเรื่องราวประกอบต้นเทียนและองค์ประกอบ
3. คุณค่าด้านศิลปการแสดง ประกอบด้วยการเล่นดนตรีพื้นเมือง อาทิ พิณ (ซุง) แคน กลอง และโหวตในรูปของโปงลาง
4. คุณค่าด้านนันทนาการและการสื่อสารมวลชน
5. คุณค่าด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน
แหล่งอ้างอิง
2. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การถ่ายทอดวรรณกรรมออกมาในรูป กลอนลำ ผญา ประกอบท่าร่ายรำในขบวนแห่ และการประยุกต์ตำนานในพุทธประวัติมาสร้างเป็นเรื่องราวประกอบต้นเทียนและองค์ประกอบ
3. คุณค่าด้านศิลปการแสดง ประกอบด้วยการเล่นดนตรีพื้นเมือง อาทิ พิณ (ซุง) แคน กลอง และโหวตในรูปของโปงลาง
4. คุณค่าด้านนันทนาการและการสื่อสารมวลชน
5. คุณค่าด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน
แหล่งอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น